🤩 TCAS 2568 รอบที่ 1 มาแล้วครับน้องๆ !! ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มศว เปิดรับสมัครนิสิตใหม่ ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2568 ในรอบที่ 1 (TCAS68-1) รอบแฟ้มสะสมผลงานครับ 👉 เปิดรับสมัครระหว่างวันที่ 12 พฤศจิกายน ถึง 9 ธันวาคม 2567สมัครได้ที่ www.admission.swu.ac.th🎯 โดยผู้สนใจ สามารถดาวน์โหลดรายละเอียดการรับสมัครได้ผ่านการสแกน QR code ในภาพด้านล่างครับรีบมาสมัครกันนะครับน้องๆ คณาจารย์และพี่ๆ รอต้อนรับน้องๆกันอย่างใจจดใจจ่อครับผม 🥳
เช้าวันนี้ ภาควิชาได้เชิญวิทยากรพิเศษ“ดร. ภัคนนันท์ ภัควนิตย์” นักวิจัยจากสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) มาบรรยายให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับเรื่อง Synchrotron Radiation X-ray Tomographic Microscopy ในรายวิชาเลือกเทคนิคการวิเคราะห์วัสดุสำหรับนิสิตปริญญาตรี ——————————-Admin นำภาพจากคลาสเรียนมาฝากครับขอขอบคุณ ดร. ภัคนนันท์ ภัควนิตย์ เป็นอย่างสูงครับ 😃
Congratulations!! 🥳🤩ภาควิชาวัสดุศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับ นายกิตติพันธ์ สายชมภู นิสิตปริญญาโทปัจจุบัน น.ส. สิรินยา อุกาสี (มหาบัณฑิต) และ ผศ.ดร.ฐิติรัตน์ จรุญสุข อาจารย์ภาควิชาวัสดุศาสตร์ มศว ที่ได้ทำการตีพิมพ์เผยแพร่งานวิจัยใหม่ ลงในวารสาร Radiation Physics and Chemistry ที่มีระดับควอไทล์ 1 (ฐานข้อมูล Web of Science) ร่วมกับนักวิจัยอีก 4 สถาบันได้แก่ นักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (ดร.วิลาสิณี กิ่งก้ำ และ ดร.สุดารัตน์ อิสระพนาชีวิน) นักวิจัยจากสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (ดร.ภัคคนันท์ ภัควนิตย์) มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี (ดร.สธน ผ่องอำไพ) และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (ศ.ดร.พิเชษฐ ลิ้มสุวรรณ และ ศ.ดร.นราธิป วิทยากร) โดยงานวิจัยนี้ ประสบความสำเร็จในการประดิษฐ์อุปกรณ์นาโนเจเนอเรเตอร์แบบยืดหยุ่น โดยใช้พอลิเมอร์ polydimethyl siloxane (PDMS) หรือซิลิโคนอิลาสโตเมอร์ เป็นวัสดุฐานสำหรับผลิตสัญญาณทางไฟฟ้า และปรับปรุงค่าสัญญาณเอาท์พุฒด้วยการทำคอมโพสิตกับวัสดุไดอิเล็กทริกประสิทธิภาพสูง LaCrO3 ร่วมกับการอาบรังสีแกมมา โดยในงานวิจัยนี้นำเสนอเอาท์พุฒทั้งในรูปแบบของการทดลอง และการจำลอง (simulation) พร้อมกับอธิบายกลไกเชิงลึก โดยในท้ายที่สุดสามารถใช้งานเป็นแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ขนาดเล็ก และเป็นเซนเซอร์การเคลื่อนไหว เดิน วิ่ง หรือกระโดด ด้วยการติดอุปกรณ์ไว้กับพื้นรองเท้าผู้สนใจสามารถติดตามดาวน์โหลดฉบับเต็มได้ที่doi.org/10.1016/j.radphyschem.2024.112330
🥳 ผ่านไปแล้วด้วยดี กับโครงการหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง วัสดุเซรามิกและวัสดุชีวภาพ ระหว่างวันที่ 15 - 17 ตุลาคม พ.ศ. 2567 ณ ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งในครั้งนี้ ทางภาควิชามีโอกาสได้ต้อนรับคณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนกวดวิชาสร้างศิลป์ จังหวัดเพชรบุรี เพื่อจัดกิจกรรมให้กับนักเรียน ที่่เต็มไปด้วยสาระความรู้พร้อมกับความสนุกสนานครับ โดยมีทั้งเนื้อหาประกอบไปด้วยการบรรยายและปฏิบัติการเรื่อง1. เซรามิกดั้งเดิมและเซรามิกสมัยใหม่2. การใช้เทคโนโลยีเครื่องพิมพสามมิติสร้างต้นแบบ3. วัสดุชีวภาพและ4. เทคนิคในการนำเสนอโครงงานทางวิทยาศาสตร์ การสาธิตและจัดแสดงผลงานนวัตกรรมของภาควิชา และการฝึกนำเสนอโครงงานให้แก่นักเรียนพร้อมคำแนะนำจากคณาจารย์ทั้งนี้ ทางภาควิชาหวังว่านักเรียนจะได้รับความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆไปอย่างเต็มที่และเราจะมีโอกาสได้กลับมาพบกันอีกนะครับ 🤩--------------------------------ภาพถ่ายจากภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ท่านใดไม่ประสงค์ให้ลงภาพถ่าย สามารถติดต่อได้โดยตรงที่ Facebook Messenger ครับ
Congratulations!!🎉 ผ่านไปด้วยดีครับกับการสอบหัวข้อ (proposal) ปริญญานิพนธ์ของ นายชนะโชติ แซ่ตั้ง นิสิตปริญญาโท หลักสูตร วท.ม. วัสดุศาสตร์ ที่ทำการสอบไปเมื่อเช้าของวันนี้ โดยมีหัวข้อปริญญานิพนธ์ได้แก่ "การสร้างปรากฎการณ์ลูกผสมของผ้าด้วยสารกึ่งตัวนำอินทรีย์สู่อุปกรณ์ผลิตพลังงานไฟฟ้าลูกผสมไทรโบอิเล็กทริก-เทอร์โมอิเล็กทริก-โฟโตโวลทาอิก" ซึ่งมี1. ผศ.ดร.ฐิติรัตน์ จรุญสุข (ที่ปรึกษาปริญญานิพนธ์) 2. รศ.ดร.สายชล ศรีแป้น (ที่ปรึกษาร่วม)และคณะกรรมการสอบ ได้แก่1. รศ.ดร.ณัฐพงศ์ พินิจค้า (ประธานกรรมการ)2. ผศ.ดร.ปณิธาน วนากมล (กรรมการ)3. ผศ.ดร.สุพิชฌา สุพรรณสมบูรณ์ (กรรมการ)Admin ขอเป็นตัวแทนชาววัสดุแสดงความยินดีกับพี่โชติด้วยครับผม 🤩