Congratulations!! 🎉 ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ขอแสดงความยินดีแก่ 🤩 "นายจักรกฤช ไตรพุฒิคุณ" 🤩 พี่บัณฑิตและนิสิตปริญญาโท (ปัจจุบัน) ในโอกาสได้รับรางวัลผลการศึกษายอดเยี่ยมขั้นวิทยาศาสตรบัณฑิตมูลนิธิศาสตราจารย์ ดร.แถบ นีละนิธิ ประจำปี 2567โดยได้รับรางวัลเข็มเกียรติยศ และประกาศนียบัตรของมูลนิธิฯ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) ทุกสาขาวิชา จากสถาบันการศึกษาในประเทศไทย ในปีการศึกษา 2566 ซึ่งมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป และเป็นผู้มีผลการเรียนสูงสุดของสาขาวิชาที่สังกัด
🤩 Congratulations!! 🤩ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ขอแสดงความยินดีแก่ 🎉 "นางสาว สิรินยา อุกาสี" ศิษย์เก่า ในโอกาสได้รับรางวัลผลการศึกษายอดเยี่ยมขั้นวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตมูลนิธิศาสตราจารย์ ดร.แถบ นีละนิธิ ประจำปี 2567โดยได้รับรางวัลเข็มเกียรติยศ และประกาศนียบัตรของมูลนิธิฯ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) ทุกสาขาวิชา จากสถาบันการศึกษาในประเทศไทย ในปีการศึกษา 2566 ซึ่งมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป และเป็นผู้มีผลการเรียนสูงสุดของสาขาวิชาที่สังกัด
🤩 ภาควิชาวัสดุศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับ "นายอัมรินทร์ ใหม่คามิ" นิสิตระดับปริญญาโท ที่ได้ผ่านการสอบนำเสนอโครงร่างปริญญานิพนธ์ในหัวข้อการผลิตแผ่นชิ้นไม้อัดโดยใช้สารประกอบเชิงซ้อนแทนนิน - โปรตีนเป็นกาวชีวภาพ (PRODUCTION OF PARTICLEBOARD USING TANNIN-PROTEIN COMPLEXAS A BIOADHESIVE) โดยมีผศ. ดร. อัครินทร์ บุญสมบัติ (ที่ปรึกษาปริญญานิพนธ์)รศ. ดร. ณัฐพงศ์ พินิจค้า (ที่ปรึกษาร่วมปริญญานิพนธ์)ผศ. ดร. ปณิธาน วนากมล (ประธานกรรมการสอบ)ผศ. ดร. สุพิชฌา สุพรรณสมบูรณ์ (กรรมการ)ผศ. ดร. ฐิติรัตน์ จรุญสุข (กรรมการ)สอบ ณ วันที่ 23 ธันวาคม 2567 เวลา 13.30-15.30 น. ครับขอแสดงความยินดีด้วยครับ
ภาควิชาวัสดุศาสตร์ มศว (SWU) ขอแสดงความยินดีกับ นางสาวสิรินยา อุกาสี มหาบัณฑิตใหม่ และ ผศ.ดร.ฐิติรัตน์ จรุญสุข (ที่ปรึกษาปริญญานิพนธ์) สำหรับผลงานการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ iScience ที่มีระดับ Quartile ที่ 1 (Impact factor = 5.😎 ซึ่งได้ทำวิจัยร่วมกับนักวิจัยหลากหลายสถาบัน ได้แก่ ดร.สธน ผ่องอำไพ (KMUTT) ศ.ดร.นราธิป วิทยากร (KMITL) ประเทศไทย ร่วมกับ Assoc. Prof. Dr. Basanta Kumar Panigrahi นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย SIKSHA 'O' ANUSANDHAN (SOA) ประเทศอินเดีย (India) และ Ms. Swati Panda, Dr. Sugato Hajra และ Prof. Dr. Hoe Joon Kim นักวิจัยจาก สถาบัน Daegu Gyeongbuk Institute of Science and Technology (DGIST) ประเทศเกาหลีใต้ และงานวิจัยนี้นับเป็นผลงานที่พัฒนาต่อยอดจากการไปทำงานวิจัยระยะสั้นของนางสาวสิรินยา ณ ประเทศเกาหลีใต้ครับโดยเป็นการเผยแพร่ผลงานการออกแบบอุปกรณ์เซนเซอร์ไทรโบอิเล็กทริก ที่มีแรงบันดาลใจมาจากตุ้มเหวี่ยงนาฬิกา (Wristwatch-inspired Triboelectric Sensor) หรือ WW-TES ⌚️ที่ใช้กลไกการสัมผัสระหว่างตุ้มเหวี่ยงนาฬิกาทำจากสแตนเลสสตีลกับกับแผ่นฟิล์ม PTFE ในการส่งสัญญาณทางไฟฟ้าจากการเกิดไฟฟ้าสถิต ซึ่งสัญญาณทางไฟฟ้าที่ได้มีความไวและสอดคล้องกับความถี่ของการสั่นในผู้ป่วยพาร์กินสัน จึงสามารถเป็นต้นแบบในการบอกระดับอาการของผู้ป่วยเบื้องต้น เป็นพื้นฐานที่ดีในการพัฒนานวัตกรรมเซนเซอร์ทางการแพทย์ในอนาคตผู้สนใจสามารถติดตามบทความฉบับเต็มได้ที่ doi.org/10.1016/j.isci.2024.111480
🗓️🎯ใกล้หมดเขตรับสมัครแล้วนะครับน้องๆ 🤩 TCAS รอบ 1 ยังคงเปิดรับสมัครอยู่ถึงวันที่ 9 ธันวาคม ครับน้องๆ มาสมัครกันเยอะๆนะครับ admin และทีมคณาจารย์รวมถึงพี่ๆ รอต้องรับน้องๆอยู่ครับ 🫶🏻🎉🤩 TCAS 2568 รอบที่ 1 มาแล้วครับน้องๆ !! ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มศว เปิดรับสมัครนิสิตใหม่ ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2568 ในรอบที่ 1 (TCAS68-1) รอบแฟ้มสะสมผลงานครับ 👉 เปิดรับสมัครระหว่างวันที่ 12 พฤศจิกายน ถึง 9 ธันวาคม 2567สมัครได้ที่ www.admission.swu.ac.th🎯 โดยผู้สนใจ สามารถดาวน์โหลดรายละเอียดการรับสมัครได้ผ่านการสแกน QR code ในภาพด้านล่างครับรีบมาสมัครกันนะครับน้องๆ คณาจารย์และพี่ๆ รอต้อนรับน้องๆกันอย่างใจจดใจจ่อครับผม 🥳