⚡️เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2568 ที่ผ่านมา คณาจารย์ภาควิชาวัสดุศาสตร์ เข้าร่วมโครงการ "สัมผัสประสบการณ์จริงในโรงงานผลิตเซนเซอร์ MEMS" จัดโดย ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC) ณ ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ![]()
🎯โดยกิจกรรมในวันที่ 11 มิ.ย. ที่ผ่านมานั้นเป็นการฝึกภาคปฏิบัติการทำ pressure sensor ด้วยเทคโนโลยี lithography และ SiO2 measurement ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสำคัญในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ![]()
🤓กิจกรรมสัมผัสประสบการณ์จริงนี้ จะเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้เข้าไปฟังการอธิบายและปฏิบัติการจริงไปพร้อมๆกับทีมงาน ทำให้มีความเข้าใจในกระบวนการต่างๆได้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยกิจกรรมดังกล่าวจะมีไปตลอดระยะเวลา 3 เดือน ในปี 2568 นี้ครับ ![]()
ภาควิชาวัสดุศาสตร์ขอขอบคุณทาง TMEC และวิทยากรทุกท่าน มา ณ ที่นี้ ครับ
ภาควิชาวัสดุศาสตร์ขอแสดงความยินดีกับ รองศาสตราจารย์ ดร. ณัฐพงศ์ พินิจค้า และ อาจารย์สุภิญญา วงษ์ศรีรักษา ในโอกาสเข้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว![]()
ณ หอดนตรีและการแสดงอโศกมนตรี 1 (หอประชุมใหญ่) ชั้น 4
อาคารนวัตกรรม : ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วันพุธที่ 4 มิถุนายน 2568
📣 ข่าวดียามเช้าครับ!! ภาควิชาวัสดุศาสตร์ขอแสดงความยินดีกับผลงานวิจัยของ นางสาวสุชานาถ นวตระกูลพิสิษฐ์ มหาบัณฑิต และ ผศ.ดร.ฐิติรัตน์ จรุญสุข (ที่ปรึกษา) ร่วมด้วย นายชนะโชติ แซ่ตั้ง นางสาวพิชญาภรณ์ เหมาะสม นิสิตปริญญาโทของภาควิชาวัสดุศาสตร์
📑 ในโอกาสได้ทำการตีพิมพ์ผลงานวิจัย ในหัวข้อ "Hybrid Textile Nanogenerators Based on Cotton-PANI/CNT Composites for Simultaneous Harvesting of Mechanical and Thermal Energy" ในวารสารระดับนานาชาติ ACS Applied Energy Materials ที่มีระดับ Quartile 1 และค่า Impact Factor = 5.5
🎯โดยเป็นงานวิจัย ร่วมกับทีมวิจัย AMR ได้แก่ รศ.ดร.สายชล ศรีแป้น, นางสาวสิรินยา อุกาสี และ ศาสตราจารย์ ดร. นราธิป วิทยากร หัวหน้าหน่วยวิจัย AMR และทีมผู้ร่วมวิจัยจากสถาบันวิจัยทั้งไทยและต่างประเทศ ได้แก่ ดร.ภัคนนันท์ ภัควนิตย์ จากสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (SLRI) Dr. Sugato Hajra และ Prof. Dr. Hoe Joon Kim จาก Daegu Gyeongbuk Institute of Science and Technology (DGIST) ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งครั้งหนึ่งเราได้ส่งนิสิตปริญญาโทร่วมทำวิจัยที่ DGIST ด้วยครับ นับเป็นความร่วมมือทางการวิจัยอย่างต่อเนื่อง
💥งานวิจัยนี้ทีมผู้วิจัยนำเสนออุปกรณ์ผลิตพลังงานไฟฟ้าขนาดเล็กไทรโบอิเล็กทริกในกลุ่มสิ่งทอ (T-TENG) ที่สามารถแปลงพลังงานกลจากการเสียดสีและความร้อนซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการเสียดสีให้เป็นพลังงานไฟฟ้าพร้อมกันในคราวเดียว โดยใช้ความรู้ด้านการปรับปรุงสมบัติของวัสดุในการสร้างผ้าคอมโพสิต โดยการเคลือบวัสดุคอมโพสิตพอลิอะนิลีนและท่อนาโนคาร์บอน (PANI/CNT) ลงบนผ้าคอตตอนด้วยกระบวนการจุ่มเคลือบด้วยอัลตราโซนิค
⚡️โดยอุปกรณ์ cot-PANI/CNT T-TENG นี้สามารถแปลงพลังงานกลและพลังงานความร้อนพร้อมกันด้วยประสิทธิภาพ ค่าสัมประสิทธิ์ซีเบคที่ ~98.5 mV/K ค่ากำลังไฟฟ้าที่ ~9 µW/mK² แรงดันไฟฟ้าวงจรเปิดที่ ~39.96 V และกระแสไฟฟ้าที่ ∼77.3 μA แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการขับเคลื่อนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กได้ อีกทั้งยังไม่ลดทอนประสิทธิภาพความยืดหยุ่นของผ้า ![]()
📄นอกจากนี้ งานวิจัยดังกล่าว ยังมีการอธิบายวิทยาศาสตร์เชิงลึกเกี่ยวกับกลไกการทำงาน และความสามารถในการสร้างและส่งออกประจุไฟฟ้าจากสารกึ่งตัวนำอินทรีย์ PANI ร่วมกับ CNT เพื่อสร้างความสามารถการทำงานร่วมกันระหว่างเทอร์โมอิเล็กทริกกับไทรโบอิเล็กทริกได้เป็นอย่างดี โดยกลไกดังกล่าวได้รับการพิสูจน์ผ่านการวิเคราะห์คุณลักษณะเฉพาะทางวัสดุศาสตร์และการจำลองโมเดลทางทฤษฎี งานวิจัยฉบับนี้นับเป็นอีกหนึ่งผลงานที่ช่วยสนับสนุนความรู้ใหม่ของเทคโนโลยีด้านการเก็บเกี่ยวพลังงานที่ยั่งยืนในอนาคต![]()
นักวิจัย นิสิตนักศึกษา และผู้สนใจ สามารถดาวน์โหลดงานวิจัยฉบับนี้ ได้ดังลิงค์แนบครับ doi.org/10.1021/acsaem.5c00900
🤩 AFM Workshop!!
เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ที่ผ่านมา นิสิตปริญญาโท ภาควิชาวัสดุศาสตร์ เข้าร่วมกิจกรรม Exploring Advanced Surface Characterization with Bruker AFM from Fundamentals to Advance Application: A Hands-on Bruker AFM Workshop ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ธนบุรี วิทยาเขตบางขุนเทียน โดยในงานมีทั้งการให้ความรู้ ถ่ายทอดเทคโนโลยี และปฏิบัติการ นิสิตได้รับความรู้กลับมามากมาย ขอขอบคุณทีมการจัดงานในครั้งนี้เป็นอย่างสูงครับ![]()
-----------------------------------------------------
ภาพถ่ายจากภาควิชาวัสดุศาสตร์ หากท่านใดไม่ประสงค์ให้มีการเผยแพร่ภาพใด สามารถติดต่อโดยตรงผ่านช่องทาง Facebook Messenger ครับ
🇹🇭 🇨🇳 Short-term research at China // GEN-3 >> อาจารย์ ดร. พีรญา พูลผล และ นางสาวอภิชญาภรณ์ เทียนดำ นิสิตปริญญาโท เดินทางเพื่อทำงานวิจัยระยะสั้น ในหัวข้อ microwave dielectrics และ 5-6G wireless communication ณ College of Materials Science and Engineering, Guilin University of Technology เมืองกุ้ยหลิน ประเทศจีน โดยเป็นทำงานร่วมกับ Prof. Liang Fang หัวหน้าหน่วยวิจัย โดยอาจารย์พีรญาและนิสิต ป.โท จะทำงานวิจัยที่นั่นเป็นระยะเวลา 3 เดือนครับ ![]()
-----------------------------------------------------
admin เป็นกำลังใจ ขอให้งานวิจัยประสบผลสำเร็จด้วยดีครับ